วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

แมคเอซิน วัฒนา วิทยา (จดหมายเหตุแสงอรุณ)

หนังสือจดหมายเหตุแสงงอรุณ แมคเอซินวัฒนาวิทยา
หรือจดหมายเหตุแสงอรุณ ฉบับเดือนธันวาคม ร.ศ.126 พ.ศ.2450
ใช้ภาพถ่ายสะพานรถไฟราชบุรี (สะพานจุฬาลงกรณ์) ปิดบนหน้าปก
หนังสือจากห้องสมุดศรัณย์ ทองปาน
ที่มาของภาพ
เอนก นาวิกมูล.(2551). หมอสูน คนดี. กรุงเทพฯ : แสงดาว.
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

หมอสูนคนดี (พ.ศ.2551)


ชื่อหนังสือ : หมอสูนคนดี
ผู้เขียน : เอนก  นาวิกมูล
พิมพ์ที่ : สำนักพิมพ์แสงดาว
พิมพ์เมื่อ : มีนาคม 2551 
ราคา 170 บาท จำนวน 200 หน้า
ขนาด : 14.5x21 ซ.ม. 
ชนิดกระดาษ : กระดาษปอนด์ 
ISBN : 978-974-05-1997-3 

เนื้อหา
"หมอสูนคนดี" เป็นการรวบรวมเรื่องราวของนายสูน หงษ์ทอง (2419 - 2509) แพทย์แผนไทยผู้มีชื่อเสียงของเมืองราชบุรี คุณเอนก นาวิกมูล นักค้นคว้าเรื่องเก่าผู้มีชื่อเสียงในอันดับต้นๆ ของสยามประเทศ เขียนเรื่องของหมอสูนลงในเนชั่นสุดสัปดาห์ คอลัมน์ "คนนอกศตวรรษ" ต่อเนื่องกันถึง 16 ตอน ช่วงปี 2544

ชีวิตห้าแผ่นดินของหมอสูน เกิดและตายที่ราชบุรี ตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เคยเข้ามาฝึกหัดเป็นช่างต่อเรือที่คลองบางหลวง ฝั่งธนฯ ต่อมากลับไปบวชที่บ้าน ได้ฝึกฝีมือกับสำนักช่างพระวัดเขาเหลือ ต่อมาจึงสึก แล้วเริ่มมาฝึกหัดทำทองจนมีชื่อเสียง เข้ามาอยู่ห้างแกรเลิร์ตในบางกอกอีกครั้ง ได้ทำงานถวายเจ้านายมากมาย แล้วกลับไปทำร้านทองอยู่ราชบุรี มีชื่อเสียงในท้องถิ่น ว่าประกอบด้วยฝีมือ ความคิด และความสุจริต จนเมื่อสูงวัยขึ้น สายตาที่เคยใช้งานหนักเริ่มเสื่อม ท่านจึงเปลี่ยนทาง หันไปศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ทดลอง ค้นคว้า คิดค้นตำรับยาใหม่ๆ ความเชี่ยวชาญทางสมุนไพรของท่านเป็นที่เลื่องลือ ถึงกับได้รับเชิญเข้ามาสอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯลฯ

แล้วหมอสูนสำคัญอย่างไร ?

ในแง่ชาติตระกูล หมอสูนก็เป็นเพียงราษฎรไทยสามัญผู้หนึ่ง แต่ที่น่ายกย่องและน่าทึ่งก็คือ ไม่ว่าจะทำสิ่งไร ท่านทำได้ดีเสมอ ทั้งด้วยความตั้งใจ มุมานะ ความเพียร และที่สำคัญก็คือความมีคุณธรรม ความเมตตา อย่างที่ผู้เขียนสรุปไว้ในหน้าแรกๆ ของหนังสือ "หมอสูนคนดี" ว่า


"หมอสูนอยู่ในวิถีชีวิตแบบไทยซึ่งผูกพันกับพุทธศาสนา มีความเมตตาเกื้อกูลต่อเพื่อนมนุษย์ มีความขยันหมั่นเพียรและรู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อทุกที่ที่ไปอยู่ ไม่ว่าไปอยู่ที่ไหนก็มีแต่คนรัก ยามที่มีเหตุการณ์คับขัน หมอสูนก็รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ชีวิตของหมอสูนจึงเป็นชีวิตที่มีคุณค่า มีรายละเอียดให้คนรุ่นหลังดูเป็นแบบอย่างได้ เรียกว่าเกิดมาแล้วไม่เสียทีที่เกิดเลย..."


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม "หมอสูน หงษ์ทอง ผู้เชี่ยวชาญสมุนไพรและยาไทยของราชบุรี"
ถึงหมอสูนจะเป็นเพียงคนธรรมดาที่เกิดมา และตายไปเมื่อนานมาแล้ว ทว่า โดยไม่ต้องมีอนุสาวรีย์ใดๆ คนเช่นนี้แหละ ที่เราสมควรกราบไหว้ ระลึกถึงได้ โดยสนิทใจ
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

แผ่นศิลาฤกษ์พระอนุสาวรีย์ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

แผ่นศิลาฤกษ์พระอนุสาวรีย์ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
พระบิดาทหารช่าง
ซึ่งประดิษฐานบริเวณหน้ากองบัญชาการกรมการทหารช่าง
ค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จ.ราชบุรี
อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

ภาพวาดจำลองโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี สมัยเก่า

ที่มา : ฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
อ่านต่อ >>